ปีนี้สมรภูมิการตลาดดิจิทัลน่าจะเดือดกว่าเดิม จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและโรคระบาด ผู้เล่นรายใหญ่ปรับตัวมาอยู่ในช่องทางออนไลน์เต็มกำลัง หลายคนที่ทำงานประจำผันตัวหรือหันมาเปิดธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดจิ๋วควบคู่ไปด้วย
ข้อดีของการที่เพิ่งเริ่มต้นในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงชนิดที่เรียกกันว่า
New Normal หรือ Never Normal คือ โอกาสติดกระดุมเม็ดแรกใหม่
เลือก Industry ที่มีอนาคตและวางกลยุทธ์ให้เหมาะสม เพราะมีโอกาสใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
ขอยกตัวอย่างแนวคิดของแบรนด์เล็กที่น่าสนใจมาฝากผู้อ่าน
1. Differentiation
การสร้างความแตกต่างคือพื้นฐานสำคัญ ถ้าทำเหมือนแบรนด์ใหญ่เขา เราไม่รอด ไม่ว่าจะเป็นคุณค่า กลุ่มลูกค้า ผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ หรือช่องทางการตลาดต้องพยายามสร้างความแตกต่าง และสู้ในตลาด Niche ที่คุณสามารถเล่นในเกมส์ของตัวเอง ไม่ใช่ตลาด Mass ซึ่งมักมีแบรนด์ใหญ่เข้าไปปักธงอยู่ก่อนแล้ว และมักเป็นต้องต่อสู้กันด้วยราคา การที่ SME ไม่มี Resource และ Economy of Scale จะทำให้มีต้นทุนที่แข่งขันได้ยาก โอกาสอยู่รอดริบหรี่
นอกจากนี้ ความแตกต่างอย่างเดียวก็ยังไม่ใช่ทางออก ต้องเป็นสิ่งที่ลูกค้าที่มี Pain point จริง และมี Barrier of Entry ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ตลาดผ้าอนามัยที่มีผู้เล่นรายใหญ่หลายเจ้าแต่ก็ยังเป็นตลาดที่เติบโตและมีขนาดใหญ่มากพอที่แบรนด์เล็ก ๆ จะเข้าไปมีส่วนแบ่ง และตอบโจทย์ความต้องการที่ Niche ลงไป ตัวอย่างที่เห็นกันไม่ว่าจะเป็น ผ้าอนามัยสำหรับคนขี้แพ้ ผ้าอนามัยที่ทำจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ซึ่งนอกจากจะตอบ Pain Point ในแง่ Function แบรนด์เล็ก ๆ ก็มักต้องดึงดูดด้วย Emotion อย่างการสื่อสารคุณค่าที่แตกต่างของแบรนด์ เพื่อให้ลูกค้ามีความผูกพันกับแบรนด์เพิ่ม เช่น จุดยืนเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมสิทธิสตรี เป็นต้น
2. Super Customer Centric
ไม่ว่าจะการตลาดแบบใด ยุคไหนก็เป็นแนวคิดสุดคลาสสิคคือ การเข้าใจลูกค้าของคุณอย่างแท้จริงโดยเฉพาะแบรนด์ที่เพิ่งเริ่มต้นที่ยังไม่แน่ใจเรื่อง Product-Market Fit ในยุคที่ผู้บริโภคมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปมากเช่นนี้ ยิ่งต้องให้ความสำคัญมากกว่าการรีบสร้างกำไรเสียอีก ธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นมักใช้โปรโมชั่นลดแลกแจกแถมในการดึงให้ลูกค้าใช้บริการครั้งแรกซึ่งได้ผลดีพอสมควร
แต่กลยุทธ์นี้มีข้อควรระวังเช่นกัน เพราะอาจทำให้เจ้าของธุรกิจตกหลุมพรางความสำเร็จของยอดขายชั่วขณะได้ การที่ลูกค้าซื้อครั้งแรกไม่ได้การันตีความสำเร็จในระยะยาว ถ้าจะใช้โอกาสลักษณะนี้ให้คุ้มค่า จะต้องโฟกัสให้ได้มาซึ่ง Feedback หรือสังเกตพฤติกรรมลูกค้าให้มากที่สุด และอย่ากลัวคำวิพากษ์วิจารณ์ ตัวผู้เขียนเองเคยไปรับประทานอาหารที่ร้านเปิดใหม่ ตกแต่งน่าสนใจจึงมีลูกค้าเข้าในช่วงต้น แต่น่าเสียดายที่อาหารบางจานไม่อร่อยและคุ้มค่ากับราคา ที่สำคัญคือ ไม่มีกลไกที่เปิดช่องให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ถึงจะมีของแถมต่าง ๆ ให้มากมาย แต่สังเกตว่าหลังจากหมดโปรโมชั่น ร้านนี้ก็แทบไม่มีลูกค้า
3. Do Small Things with Great Love
ใช้ความจิ๋วของคุณให้เป็นความแจ๋ว สิ่งที่แบรนด์ใหญ่ทำได้ยาก เช่น ความเร็วในการปรับตัว ความใกล้ชิดกับลูกค้า ความใส่ใจในบริการที่ลงรายละเอียดเฉพาะบุคคลจากการที่ฐานลูกค้าที่ไม่มาก หรือแม้แต่ข้อจำกัดของทรัพยากรก็ยังเป็นเสน่ห์ของแบรนด์ได้ ยกตัวอย่างที่พบได้บ่อยใน SME ที่มีผลิตภัณฑ์บริการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ อย่างร้านขายข้าวหน้าเนื้อหนึ่งห้องแถว หรือ Chef Table บางแห่งที่ต้องจองกันข้ามปี มีอาหารประจำฤดูกาลที่จำกัดระยะเวลา ทำให้ผู้บริโภครู้สึกพิเศษและมีความต้องการเพิ่มขึ้นได้ เป็นต้น
4. Authentic Content Strategy
ท่ามกลางทะเลคอนเทนต์ทั้ง Sponsored-Posts, Influencers, Paid Ads และการอัดงบมหาศาลของแบรนด์ใหญ่ ปริมาณจึงไม่ใช่สิ่งที่แบรนด์เล็ก ๆ จะแข่งขันได้ หากแต่เป็นคุณภาพ ความเรียบง่ายจริงใจของคอนเทนต์จึงสำคัญ นอกจากคอนเทนต์ที่ผลิตเองแล้ว User-Generated Content (UGC) หรือคอนเทนต์ที่ผลิตโดยลูกค้าของคุณ ไม่ว่าจะเป็นภาพ วีดีโอ รีวิวก็เป็นอีกอาวุธลับของแบรนด์เล็กให้ได้มาซึ่งพื้นที่บนโลกดิจิทัล อย่าดูถูกพลังของผู้บริโภคเป็นอันขาดเพราะแบรนด์คุณอาจจะปังหรือพังได้ในชั่วข้ามคืน งานวิจัยพบว่า ผู้บริโภคปัจจุบันเชื่อถือโฆษณาจากแบรนด์น้อยกว่าการบอกต่อของผู้บริโภคด้วยกันอย่างมาก รวมถึง 72% ของกลุ่ม Millennials เคยแชร์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่ชื่นชอบ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบ่งบอกไลฟ์สไตล์และรสนิยมของตัวเองทางช่องทางออนไลน์ ลองนึกดูว่าคาเฟ่ล่าสุดที่คุณเกิดอยากไป คุณเห็นมาจากโพสต์ IG ของเพื่อนคุณรึเปล่า?
Source : searchengineland.com
5. Growing with Partnership
นอกจากการจับมือกับคู่ค้าที่เหมาะมาช่วยกันขยายฐานลูกค้าหรือรายได้ ที่ควรมองหาโอกาสอยู่เสมอแล้ว การบริหารต้นทุนมักเป็นจุดที่ถูกมองข้ามได้บ่อย ๆ การหาพาร์ทเนอร์ที่ร่วมแชร์ต้นทุนบางอย่างเพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือเข้ามา Outsource งานที่ไม่ใช่หลักเพื่อให้คุณสามารถไปโฟกัสกับงานหลักที่สำคัญได้เต็มที่ก่อน โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าธุรกิจยิ่ง Lean ยิ่งปรับตัวได้เร็วจะมีมีโอกาสอยู่รอดมากขึ้น
6. Data-Driven Creativity
เรื่องการจัดเก็บและต่อยอดข้อมูลมักถูกมองเป็นเรื่องของบริษัทใหญ่ ๆ ที่มีทีมงาน งบประมาณเพียบพร้อม สำหรับ SME แค่การบริหารจัดการงานรายวันก็หนักหนาอยู่แล้ว ทำให้เรื่อง Data มักดูไกลตัวเสมอ แต่ที่จริงแล้ว การที่แบรนด์หรือธุรกิจยิ่งมีทรัพยากรน้อย ยิ่งต้องต่อยให้หนักและตรงจุด การวิเคราะห์ข้อมูลหา Insight จะช่วยทำให้ธุรกิจมีโอกาสสำเร็จยิ่งขึ้น ทั้งทางตรง เช่นการนำไปยิง Ad, Retargetting หรือทางอ้อมอย่างการนำ Insight ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการให้ตอบโจทย์ตรงใจยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีเครื่องมือต่าง ๆ ที่เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ที่เรียบง่ายกว่าอดีต แบรนด์เล็กที่เพิ่งเริ่มกลับได้เปรียบองค์กรใหญ่ในการวางระบบการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบตั้งแต่ต้น ใช้ความเล็กและใกล้ชิดลูกค้าให้เป้นจุดได้เปรียบ แล้ว Small Data ก็จะกลายเป็น Big Data ได้ในอนาคต
การบริหารการตลาดและแบรนด์เป็นเหมือนหางเสือที่ควบคุมแนวทางและพลังการขับเคลื่อนองค์กรทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ บริการ และ วัฒนธรรมองค์กรให้ไปในทิศทางเดียวกัน
แบรนด์เล็กในยุคนี้จึงต้องมี Marketpreneurship
แม้ Resource จะน้อยกว่าแต่การที่เจ้าของธุรกิจคลุกคลีในจุดนี้ตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นการลงมือทำเองหรือจ้างเอเจนซี่เข้ามาช่วย ความเข้าใจในหลักการจะทำให้สามารถนำไปพลิกแพลงกลยุทธ์ไปตามการเติบโตของแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เสริมพื้นฐานความรู้เพื่อความมั่นใจ และเปิดมุมมองด้านการตลาดใหม่ ๆ กับหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารธุรกิจยุคดิจิทัล Mini MBA - Digital Marketing Management ที่เน้นความเข้าใจในการวางแผนบริหาร Marketing Performance และ Mini MBA -Digital Brand Management ที่จะช่วยให้คุณสื่อสารแบรนด์ของคุณได้อย่างสร้างสรรค์ยิ่งขึ้น
------------------------------------------------------------------------------------
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม Mini MBA - Digital Marketing Management
https://www.neobycmmu.com/digital-marketing-mangement Mini MBA - Digital Brand Management
Comentarios