ภาษี Digital Asset ต้องจ่ายไหม? จ่ายอย่างไร? (Update 2022)
หลายท่านคงได้ทราบกันไปแล้วกับความหมายของ Digital Asset (สินทรัพย์ดิจิทัล) หรือที่ได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ในนามของ Cryptocurrency (คริปโตเคอร์เรนซี) นั่นเอง
แต่หากจะให้อธิบายสั้นๆ สิ่งนี้ก็คือ หน่วยอิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงมูลค่าเหมือนสินทรัพย์ทั่วไป ถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ไม่สามารถจับต้องได้ แต่สามารถซื้อ-ขาย โอนเปลี่ยนความเป็นเจ้าของได้ จึงมีนักลงทุนจำนวนมากถือครองไว้เพื่อเก็งกำไร
แต่สิ่งที่นักลงทุนหลายท่านยังไม่ทราบ หรืออาจจะพอทราบแล้ว แต่ยังคงงุนงงกับเรื่องนี้อยู่ นั่นก็คือ เรื่องของ ภาษีคริปโตเคอร์เรนซี ก่อนที่จะไปทราบกันว่าจำเป็นต้องเสียภาษีหรือไม่ แล้วต้องเสียเท่าไหร่ NEO Academy ขอพาทุกท่านไปทราบถึงความหมายของภาษีคริปโตฯกันก่อน
ภาษีคริปโตเคอร์เรนซี คืออะไร?
ช่วงปี พ.ศ.2561 เป็นช่วงเวลาที่คริปโตฯ เริ่มเข้ามา นักลงทุนชาวไทยเริ่มก้าวเข้าไปลงทุนกับการลงทุนประเภทนี้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาครัฐต้องมีการออกมากำกับดูแลในการลงทุนหรือการเทรด ซึ่งดูแลโดย ก.ล.ต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์)
ในเรื่องของการจัดเก็บภาษีคริปโตฯ ได้ถูกประกาศออกมาเมื่อปี พ.ศ.2561 เป็นประกาศออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) เป็นกฎหมายของกรมสรรพากร กล่าวถึงการแก้ไขภาษี
โดยมีการเพิ่มรายได้อีกสองประเภทเข้าไป ได้แก่ รายได้จากโทเคนดิจิทัล และคริปโตฯ รวมถึงกำไรจากการขายหรือการเทรดโทเคนดิจิทัลและคริปโตเคอร์เรนซี
กรณีใดบ้างที่ต้องมีการเสียภาษีคริปโตเคอร์เรนซี? กล่าวคือ Digital Asset (สินทรัพย์ดิจิทัล) ใน พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 นั้นแปลว่า กำไรที่มาจากสินทรัพย์ดังกล่าวเข้าเกณฑ์เสียภาษี โดยมาตราที่ระบุแก้ไขข้อกฎหมาย ได้แก่
มาตรา 40 (4) (ซ) เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล
มาตรา 40 (4) (ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
มาตรา 50 (ฉ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) และ (ฌ) ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ หากให้เข้าใจได้ง่ายกว่านั้น คือมี “เงินได้” ถูกตั้งเพิ่มขึ้นมาอีก 2 ประเภท ที่เข้าเกณฑ์ต้องชำระภาษี ได้แก่ - ส่วนแบ่งกำไรจากการถือครองโทเคนดิจิทัล - กำไรจากการขายโทเคนดิจิทัลและคริปโตฯ โดยตรง กรณีนี้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากกำไรก่อน
หลายท่านอาจจะยังสงสัยต่อไปอีกว่า ถ้ามีการหัก 15% ณ ที่จ่ายไปแล้ว ทำไมถึงยังต้องนำมายื่นภาษีเงินได้ประจำปีด้วยอีก?
อธิบายคือ การหักร้อยละ 15 ของกำไรนั้น ยังไม่ถือเป็นเงินได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงไม่สามารถนำมารวมกับการคำนวณในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เนื่องจาก กำไรของการขายคริปโตฯ ไม่เหมือนกับดอกเบี้ยหรือเงินปันผลที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามที่มีกฎหมายรับรอง แต่ส่วนของคริปโตฯ ยังไม่มีกฎหมายรองรับกำหนดให้เป็นเงินได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยถูกพิจารณาให้เป็นเหมือนรายได้ประเภทเดียวกับ เงินเดือน ค่าจ้าง หรือรายได้จากการประกอบกิจการทั่วไปนั่นเอง
แต่ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2565 คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้มีการร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่ทางกรมสรรพากรได้เสนอไว้ เพื่อผ่อนปรณการเก็บภาษีภายใต้กฎหมายปัจจุบัน
การผ่อนปรณของกรมสรรพากรมีอะไรบ้าง?
ภาษีเงินได้: การคำนวณภาษีเงินได้หรือกำไร Digital Asset นั้น สามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกำไรได้ในปีภาษีเดียวกัน สามารถเข้าเงื่อนไขนี้ได้เฉพาะทำธุรกรรมผ่านผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนหรือเทรดคริปโตฯที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ (เช่น Bitkub, Satang Pro, Bitazza และ Zipmex) เท่านั้น
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย: กรณีธุรกรรมที่กระทำผ่านผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนหรือเทรดคริปโตฯ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. จะไม่สามารถระบุตัวตนผู้รับเงิน รวมไปถึงไม่ทราบจำนวนเงินได้ที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย จึงทำให้ไม่ครบองค์ประกอบในการหักภาษี ณ ที่จ่าย ส่งผลให้ไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับธุรกรรมที่กระทำผ่านผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนหรือเทรดคริปโตฯ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. และ Digital Asset ที่ออกให้โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ถึง 31 ธ.ค. พ.ศ.2566
สรุปให้เข้าใจโดยง่ายคือ การทำธุรกรรมโดยผ่าน ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนหรือเทรดคริปโตฯ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ดังนี้
กรมสรรพากรจะยังไม่มีการเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ยังไม่เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
สามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกับกำไรในปีเดียวกันได้
ทั้งหมดนี้น่ะจะช่วยคลายข้อสงสัยให้แก่ท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อย ในเรื่องของ ภาษี Digital Asset ว่าต้องจ่ายหรือไม่ และต้องจ่ายอย่างไร?
เพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากกว่านี้ทาง NEO Academy ของเราได้เปิดหลักสูตร Mini MBA: Digital Asset Investment & Management #1 หรือ หลักสูตรการลงทุนและบริหารสินทรัพย์ดิจิทัล รุ่น 1
เพื่อช่วยให้ท่านได้เข้าใจถึงความหมายที่ชัดเจนของ Digital Asset รวมไปถึงความสำคัญ ที่มาที่ไป ของ Digital Asset แต่ละตัว และคลายข้อสงสัยต่างๆ ของท่าน โดยอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญในโลกของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เพราะก้าวแรกสำคัญเสมอ รายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม: https://www.neobycmmu.com/mini-mba-digital-asset-management
Source: https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/lorkhor/information/manual_crypto_310165.pdf, https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/news/2565thai/news16_2565.pdf?fbclid=IwAR0Y8m1kki9rVQRaAkov3KIpsfrzSK_W7qs6LV0JSIPxdCu98n11nA1P3wQ, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/033/43.PDF, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/033/71.PDF, https://www.taxbugnoms.co/crypto-taxation-in-thailand/, https://thematter.co/social/cryptocurrency-tax-thailand/164445, https://www.itax.in.th/media/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%82%E0%B8%97/, https://www.moneybuffalo.in.th/cryptocurrency/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88, https://workpointtoday.com/cryptocurrency-104/, https://www.huapood.com/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99/%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99/4-%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%82%E0%B8%95-bitcoin-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%95-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2564/#:~:text=Bitkub%20%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%84,%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97)%20%3A%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%205%2C000%20%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97
Comments